วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของชาวจีนในเมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

ประวัติความเป็นมาของชาวจีนในเมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

คนจีนเริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2498 สำหรับจังหวัดนครสวรรค์นั้นไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า คนจีนเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่เมื่อใดแน่
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การขยายตัวทางการค้าทำให้ชาวจีนหลั่งไหลเข้ามาขายแรงงานและประกอบการค้าต่าง ๆ ในจังหวัดนครสวรรค์มากขึ้น นครสวรรค์ได้ย้ายศูนย์กลางการค้าจากฝั่งตะวันออก คือฝั่งแม่น้ำน่าน มาเป็นฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ ตลาดปากน้ำโพ
ในบรรดาคนจีนทั้งหมดที่อพยพเข้ามาอยู่ในนครสวรรค์นั้น คนจีนไหหลำได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเก้าเลี้ยว และตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ก่อน ต่อมาคนจีนแต้จิ๋ว จีนแคะ และจีนกวางตุ้งก็เริ่มอพยพตามกันมา การอพยพของชาวจีนมีทั้งอพยพจากต่างประเทศโดยตรง และอพยพภายในประเทศ
จากการศึกษาของศาสตราจารย์ จี วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner ) ถึงจำนวนคนจีน ในนครสวรรค์ช่วงปี พ.ศ. 2477 พบว่า ประชากรคนจีน (ในประเทศไทยขณะที่การปกครอง ขณะนั้นจำแนกเป็นมณฑลนครสวรรค์) มีจำนวนถึง 6,300 คน จากจำนวนคนจีนทั้งมณฑลภาคกลาง 10,900 คน (มณฑลภาคกลางประกอบด้วย นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์) ขณะที่คนจีนทั้งประเทศขณะนั้นมีจำนวนถึง 397,100 คน
การค้าขายของนครสวรรค์ในอดีตต้องอาศัยทางน้ำเป็นหลัก โดยมีพ่อค้าชาวจีนเป็นคนกลาง นำสินค้าบริโภคเช่น ผ้า เครื่องใช้ สินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ หรือจากกรุงเทพมหานคร มาขายในจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ และผลผลิตทางการเกษตร ข้าว พืชไร่ ของป่า ของพื้นเมือง ล่องแม่น้ำเจ้าพระยาไปขายกรุงเทพมหานคร โดยพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ จะอาศัยอยู่ในเรือของตนซึ่งจอดอยู่ในแควน้ำ (ลำน้ำ) เจ้าพระยา เพื่อความสะดวกในการติดต่อทำการค้าและขนส่งสินค้าลงมากรุงเทพมหานคร
ด้วยเหตุที่นครสวรรค์เป็นชุมทางการค้า โดยมีคนจีนเป็นพ่อค้าคนกลาง ดังนั้น คนจีนส่วนใหญ่จึงสะสมทุนจากการค้าสินค้าจากกรุงเทพมหานคร คือ ผ้า ของใช้ต่าง ๆ สินค้าสำเร็จรูปนำขึ้นมาขาย และขนผลิตผลทางการเกษตร ข้าว พืชไร่ ของป่า จากศูนย์กลางการค้าดังกล่าว ลงไปขายกรุงเทพมหานคร ผลผลิตจากชนบทจึงถูกนำเข้าสู่ตลาดโดยคนจีน ถึงจะมีชาวนาหรือคนในหมู่บ้าน ค้าขายอยู่บ้างก็เป็นการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ และเป็นคนกลางซื้อผลผลิตจากหมู่บ้าน ส่งต่อให้พ่อค้าคนจีนในเมือง โอกาสที่จะแข่งกับพ่อค้าคนจีนจึงไม่มี

***ต้องการดูบทความทั้งหมด กดที่ โปรไฟท์ของฉัน เลือก เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น