วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บรรยากาศงานตรุษจีนปากน้ำโพ (นครสวรรค์) วันที่ 12 กพ.53

***ทุกภาพหากต้องการดูชัดๆ พิจารณารายละเอียด กด ดับเบิ้ลคลิกที่ภาพ ครับ***
***ต้องการดูบทความทั้งหมด กดที่ โปรไฟท์ของฉัน เลือก เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์***




















บรรยากาศงานตรุษจีนปากน้ำโพ (นครสวรรค์) วันที่ 12 กพ.53 โดยฝีมือการถ่ายภาพของคุณเฉาก๊วย

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บรรยากาศภายตรุษจีนปากน้ำโพ (นครสวรรค์) วันที่ 7-18 กพ.2553

***ทุกภาพหากต้องการดูชัดๆ พิจารณารายละเอียด กด ดับเบิ้ลคลิกที่ภาพ ครับ***
***ต้องการดูบทความทั้งหมด กดที่ โปรไฟท์ของฉัน เลือก เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์***



















บรรยากาศภายในงานตรุษจีนปากน้ำโพ (นครสวรรค์) วันที่ 7-18 กพ.2553 ภาพทั้งหมดถ่ายโดย คุณเฉาก้วย (น้องที่ทำงานผมเองครับ)

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทศกาลตรุษจีน เมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์)

***ทุกภาพหากต้องการดูชัดๆ พิจารณารายละเอียด กด ดับเบิ้ลคลิกที่ภาพ ครับ***
***ต้องการดูบทความทั้งหมด กดที่ โปรไฟท์ของฉัน เลือก เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์***




เทศกาลตรุษจีน เมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์)
“เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ”


จากสภาพของเมืองนครสวรรค์ ที่ส่วนใหญ่ประชากรมีเชื้อสายจีน ทำให้เมืองปากน้ำโพ หรือเมืองสี่แคว แห่งนี้ มีวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่ชาวจีน.โพ้นทะเลพากันยึดถือมาฝังรากอยู่ในจังหวัดนี้ด้วย มักจะนิยมแสดงออกด้วยงานประเพณีตรุษต่างๆ พร้อมการเฉลิมฉลองตามคตินิยม โดยเฉพาะงานประเพณีแห่งเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ที่มีการเชิดสิงโต และแห่มังกรทองในเทศกาลตรุษจีน เพราะแต่ละปีมักจะมีสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจมาให้ชมอยู่เสมอ ถือได้ว่าเป็นความภูมิใจของคนเมืองสี่แคว ในการอนุรักษ์และสืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 100 ปี มาแล้ว

ตำนานของประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ เกิดจากในอดีตที่ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิวาตกระบาดครั้งใหญ่ ทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้รวมตัวกันทำพิธีทางความเชื่อ ด้วยการนำเทพเจ้าทุกองค์มาแห่รอบตลาด เพื่อเป็นการขับไล่โรคร้าย และได้มีการเชิญเจ้าเข้าทรงมาทำพิธีรักษาโรคโดยการเขียนคำว่า “ฮู้” ไว้บนกระดาษยันต์แล้วนำเอาไปเผาไฟ เพื่อนำเถ้ากระดาษมาชงกับน้ำดื่ม ซึ่งผลจากการกระทำดังกล่าวผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคหลายรายที่ดื่มน้ำผสมเถ้ากระดาษยันต์เข้าไปปรากฏว่าหายจากการป่วยราวปฏิหาริย์ จนทำให้การแพร่ระบาดของโรคค่อยๆ ลดลง จนหายไปในที่สุด
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวปากน้ำโพจึงเกิดความศรัทธาที่จะให้มีการฉลองสมโภชน์แห่แท่นเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ทุกองค์รอบตลาดปากน้ำโพ เพื่ออัญเชิญออกมาปัดเป่าให้ชาวบ้านร้านค้าได้อยู่เย็นเป็นสุขในโอกาสขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติตามประเพณีตรุษจีนจวบจนถึงปัจจุบันนี้


กำหนดการจัดงานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552-2553 จะมีขึ้นระหว่างวันที่
7 – 18 กุมภาพันธ์ 2553 (12 วัน 12 คืน) โดยขบวนแห่แท่นเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ นั้น จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 16 กพ.2553 (วันซิวซา) จะเป็นการแห่รอบเมืองปากน้ำโพในช่วงกลางคืน ตั้งแต่เวลา 18.00 น. และวันต่อมา คือวันพุธที่ 17 ก.พ.2553 (วันซิวสี่) จะเป็นการแห่รอบเมืองในช่วงเวลากลางวัน เริ่ม 06.00 น. ซึ่งการแห่ขบวนในปีนี้ จะมีขบวนแห่เข้าร่วมกว่า 32 ขบวน อาทิ ขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ,ขบวนล่อโก้ว,เองกลอพ๊ะบู๊ ,สิงโตกวางตุ้ง,สิงโตฮากกา,เสือไหหลำ,ขบวนแห่มังกรอันลือลั่น,ขบวนนางฟ้า และเทพเจ้าต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือ ขบวนแห่องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม

ประวัติความเป็นมาของชาวจีนในเมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

ประวัติความเป็นมาของชาวจีนในเมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

คนจีนเริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2498 สำหรับจังหวัดนครสวรรค์นั้นไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า คนจีนเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่เมื่อใดแน่
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การขยายตัวทางการค้าทำให้ชาวจีนหลั่งไหลเข้ามาขายแรงงานและประกอบการค้าต่าง ๆ ในจังหวัดนครสวรรค์มากขึ้น นครสวรรค์ได้ย้ายศูนย์กลางการค้าจากฝั่งตะวันออก คือฝั่งแม่น้ำน่าน มาเป็นฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ ตลาดปากน้ำโพ
ในบรรดาคนจีนทั้งหมดที่อพยพเข้ามาอยู่ในนครสวรรค์นั้น คนจีนไหหลำได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเก้าเลี้ยว และตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ก่อน ต่อมาคนจีนแต้จิ๋ว จีนแคะ และจีนกวางตุ้งก็เริ่มอพยพตามกันมา การอพยพของชาวจีนมีทั้งอพยพจากต่างประเทศโดยตรง และอพยพภายในประเทศ
จากการศึกษาของศาสตราจารย์ จี วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner ) ถึงจำนวนคนจีน ในนครสวรรค์ช่วงปี พ.ศ. 2477 พบว่า ประชากรคนจีน (ในประเทศไทยขณะที่การปกครอง ขณะนั้นจำแนกเป็นมณฑลนครสวรรค์) มีจำนวนถึง 6,300 คน จากจำนวนคนจีนทั้งมณฑลภาคกลาง 10,900 คน (มณฑลภาคกลางประกอบด้วย นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์) ขณะที่คนจีนทั้งประเทศขณะนั้นมีจำนวนถึง 397,100 คน
การค้าขายของนครสวรรค์ในอดีตต้องอาศัยทางน้ำเป็นหลัก โดยมีพ่อค้าชาวจีนเป็นคนกลาง นำสินค้าบริโภคเช่น ผ้า เครื่องใช้ สินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ หรือจากกรุงเทพมหานคร มาขายในจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ และผลผลิตทางการเกษตร ข้าว พืชไร่ ของป่า ของพื้นเมือง ล่องแม่น้ำเจ้าพระยาไปขายกรุงเทพมหานคร โดยพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ จะอาศัยอยู่ในเรือของตนซึ่งจอดอยู่ในแควน้ำ (ลำน้ำ) เจ้าพระยา เพื่อความสะดวกในการติดต่อทำการค้าและขนส่งสินค้าลงมากรุงเทพมหานคร
ด้วยเหตุที่นครสวรรค์เป็นชุมทางการค้า โดยมีคนจีนเป็นพ่อค้าคนกลาง ดังนั้น คนจีนส่วนใหญ่จึงสะสมทุนจากการค้าสินค้าจากกรุงเทพมหานคร คือ ผ้า ของใช้ต่าง ๆ สินค้าสำเร็จรูปนำขึ้นมาขาย และขนผลิตผลทางการเกษตร ข้าว พืชไร่ ของป่า จากศูนย์กลางการค้าดังกล่าว ลงไปขายกรุงเทพมหานคร ผลผลิตจากชนบทจึงถูกนำเข้าสู่ตลาดโดยคนจีน ถึงจะมีชาวนาหรือคนในหมู่บ้าน ค้าขายอยู่บ้างก็เป็นการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ และเป็นคนกลางซื้อผลผลิตจากหมู่บ้าน ส่งต่อให้พ่อค้าคนจีนในเมือง โอกาสที่จะแข่งกับพ่อค้าคนจีนจึงไม่มี

***ต้องการดูบทความทั้งหมด กดที่ โปรไฟท์ของฉัน เลือก เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์***

เทศกาลตรุษจีน เมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์)

เทศกาลตรุษจีน เมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์)
“เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ”

จากสภาพของเมืองนครสวรรค์ ที่ส่วนใหญ่ประชากรมีเชื้อสายจีน ทำให้เมืองปากน้ำโพ หรือเมืองสี่แคว แห่งนี้ มีวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่ชาวจีน.โพ้นทะเลพากันยึดถือมาฝังรากอยู่ในจังหววัดนี้ด้วย มักจะนิยมแสดงออกด้วยงานประเพณีตรุษต่างๆ พร้อมการเฉลิมฉลองตามคตินิยม โดยเฉพาะฉานประเพณีแห่งเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ที่มีการเชิดสิงโต และแห่มังกรทองในเทศกาลตรุษจีนไปได้ เพราะแต่ละปีมักจะมีสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจมาให้ชมอยู่เสมอ ถือได้ว่าเป็นความภูมิใจของคนเมืองสี่แคว ในการอนุรักษ์และสืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 100 ปี มาแล้ว

ตำนานของประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ เกิดจากในอดีตที่ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิวาตกระบาดครั้งใหญ่ ทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้รวมตัวกันทำพิธีทางความเชื่อ ด้วยการนำเทพเจ้าทุกองค์มาแห่รอบตลาด เพื่อเป็นการขับไล่โรคร้าย และได้มีการเชิญเจ้าเข้าทรงมาทำพิธีรักษาโรคโดยการเขียนคำว่า “ฮู้” ไว้บนกระดาษยันต์แล้วนำเอาไปเผาไฟ เพื่อนำเถ้ากระดาษมาชงกับน้ำดื่ม ซึ่งผลจากการกระทำดังกล่าวผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคหลายรายที่ดื่มน้ำผสมเถ้ากระดาษยันต์เข้าไปปรากฏว่าหายจากการป่วยราวปฏิหาริย์ จนทำให้การแพร่ระบาดของโรคค่อยๆ ลดลง จนหายไปในที่สุด
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวปากน้ำโพจึงเกิดความศรัทธาที่จะให้มีการฉลองสมโภชน์แห่แท่นเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ทุกองค์รอบตลาดปากน้ำโพ เพื่ออัญเชิญออกมาปัดเป่าให้ชาวบ้านร้านค้าได้อยู่เย็นเป็นสุขในโอกาสขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติตามประเพณีตรุษจีนจวบจนถึงปัจจุบันนี้


กำหนดการจัดงานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552-2553 จะมีขึ้นระหว่างวันที่
7 – 18 กุมภาพันธ์ 2553 (12 วัน 12 คืน) โดยขบวนแห่แท่นเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ นั้น จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 16 กพ.2553 (วันซิวซา) จะเป็นการแห่รอบเมืองปากน้ำโพในช่วงกลางคืน ตั้งแต่เวลา 18.00 น. และวันต่อมา คือวันพุธที่ 17 ก.พ.2553 (วันซิวสี่) จะเป็นการแห่รอบเมืองในช่วงเวลากลางวัน เริ่ม 06.00 น. ซึ่งการแห่ขบวนในปีนี้ จะมีขบวนแห่เข้าร่วมกว่า 32 ขบวน อาทิ ขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ,ขบวนล่อโก้ว,เองกลอพ๊ะบู๊ ,สิงโตกวางตุ้ง,สิงโตฮากกา,เสือไหหลำ,ขบวนแห่มังกรอันลือลั่น,ขบวนนางฟ้า และเทพเจ้าต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือ ขบวนแห่องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม